โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์ฯ
อุปสงค์ อุปทาน
ให้เลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงข้อเดียว
ข้อใดคืออุปทาน
- ความต้องการของผู้ผลิตหรือผู้ขาย ในการขายสินค้าและบริการ ที่ผู้ผลิตเสนอขายในระยะเวลาหนึ่ง
- ความต้องการของผู้บริโภคในการซื้อสินค้าและบริการในระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งอาจเปลี่ยนแปลงได้เพราะจำนวนประชากร รสนิยมในการบริโภค
- การตัดสินใจเลือกบริโภคสินค้าและบริการที่ทำให้ตนได้รับความพอใจมากที่สุด
- กระบวนการผลิตสินค้าหรือบริการ ที่ทำให้ผู้บริโภคได้รับอรรถประโยขน์สูงสุด
กฎของอุปสงค์ต่อราคากล่าวว่าอย่างไร
- เมื่อราคาสินค้าสูงขึ้นปริมาณความต้องการซื้อสินค้าจะลดลง
- เมื่อราคาสินค้าสูงขึ้นปริมาณความต้องการซื้อสินค้าจะสูงขึ้น
- เมื่อราคาสินค้าต่ำลงปริมาณความต้องการซื้อสินค้าจะลดลง
- เมื่อต้นทุนราคาสินค้าสูงขึ้นปริมาณความต้องการซื้อสินค้าจะเพิ่มขึ้น
ข้อใดจัดเป็นกฎของอุปทาน Law of Supply
- เมื่อราคาสินค้าและบริการสูงขึ้นความต้องการขายมากขึ้น
- เมื่อราคาสินค้าและบริการต่ำลงความต้องการขายมากขึ้น
- เมื่อราคาสินค้าและบริการสูงขึ้นความต้องการขายลดลง
- ราคาของสินค้าและบริการไม่มีผลต่อการอุปโภคหรือบริโภค
คำว่า "อุปทานลดลง" น่าจะสอดคล้องกับข้อใด
- ถ้าให้ขายสินค้าราคาถูกลง ผู้ผลิตจะขายในปริมาณน้อยลง
- ถ้าให้ขายสินค้าราคาถูกลง ผู้ผลิตจะขายในปริมาณเพิ่มขึ้น
- ถ้าให้ขายสินค้าปริมาณเพิ่ม ผู้ผลิตจะขายในปริมาณน้อยลง
- ถ้าให้ขายสินค้าราคาสูง ผู้ผลิตจะขายในปริมาณเพิ่มขึ้น
การลดลงของราคารถจักรยานยนต์ ปริมาณขายรถจักรยานยนต์ เพิ่มขึ้นตามไปด้วยเป็นผลมาจากอะไร
- การเพิ่มขึ้นของอุปสงค์
- การลดลงของอุปสงค์
- การลดลงของอุปทาน
- การเพิ่มขึ้นของอุปทาน
ตามกลไกราคาเหตุการณ์ของการขาดแคลนข้าวเกิดขึ้นเมื่อใด
- ปริมาณอุปสงค์ของข้าวมีมากกว่าปริมาณอุปทานของข้าว
- ปริมาณอุปทานของข้าวมีมากกว่าปริมาณอุปสงค์ของข้าว
- ผลผลิตข้าวปีนี้สูงกว่าปีที่แล้ว
- ผลผลิตข้าวปีนี้ต่ำกว่าปีที่แล้ว
ข้อใดน่าจะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงปริมาณการจำหน่ายบนเส้นอุปทานของน้ำมันเบ็นซินหน้าปั้ม
- ราคาน้ำม้นเบ็นซิน
- ราคาน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 95
- ราคาน้ำมันดีเซล
- ราคาปิโตรเลียม
กฎของอุปทาน แสดงถึงอะไร
- ความสัมพันธ์ในทางเดียวกันระหว่างราคาสินค้าและปริมาณอุปทาน
- ความสัมพันธ์ในทางเดียวกันระหว่างปริมาณเสนอซื้อและปริมาณเสนอขาย
- ความสัมพันธ์ในทางตรงข้ามระหว่างปริมาณเสนอซื้อและปริมาณเสนอขาย
- ความสัมพันธ์ในทางตรงกันข้ามระหว่างราคาสินค้าและปริมาณอุปทาน
ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง
- เมื่อราคาสินค้าและบริการสูงขึ้นความต้องการซื้อจึงมากขึ้น
- เมื่อราคาสินค้าและบริการต่ำลงความต้องการซื้อจึงมากขึ้น
- เมื่อราคาสินค้าและบริการสูงขึ้นความต้องการขายจึงมากขึ้น
- เมื่อราคาสินค้าและบริการต่ำลงความต้องการขายจึงต่ำลง
อุปทาน supply หมายถึงอะไร
- ความต้องการของผู้ประกอบการในการขายสินค้าและบริการ
- ความต้องการของผู้ผลิตที่จะซื้อสินค้าและบริการ
- ความต้องการของผู้บริโภคในการซื้อสินค้าและบริการ
- ความต้องการของผู้ขายสินค้าในการซื้อสินค้าและบริการ
ข้อใดไม่ใช่องค์ประกอบที่ทำให้อุปสงค์จะสัมฤทธิ์ผล ( Effective Demand )
- ต้นทุนการผลิต( production cost)
- ความต้องการซื้อ( Want )
- อำนาจซื้อ ( Purchasing Power )
- ความเต็มใจที่จะซื้อ ( Ability and Willingness )
ราคาสินค้าที่ทำให้เกิด “อุปสงค์ส่วนเกิน” คือราคาในข้อใด
- ราคาที่ต่ำกว่าราคาดุลยภาพ
- ราคาที่สูงกว่าราคาดุลยภาพ
- ราคาที่เกินต้นทุน
- ราคาดุลยภาพ
ตามกลไกราคาเหตุการณ์ของการขาดแคลนน้ำตาลทรายเกิดขึ้นเมื่อใด
- ปริมาณอุปสงค์ของน้ำตาลทรายมีมากกว่าปริมาณอุปทานของน้ำตาลทราย
- ปริมาณอุปทานของน้ำตาลทรายมีมากกว่าปริมาณอุปสงค์ของน้ำตาลทราย
- ผลผลิตน้ำตาลทรายปีนี้สูงกว่าปีที่แล้ว
- ผลผลิตน้ำตาลทรายปีนี้ต่ำกว่าปีที่แล้ว
ข้อใดเป็นสินค้าขั้นสุดท้าย
- ข้าวผัดกระเพา
- ข้าวหอมมะลิ
- ข้าวขาว100เปอร์เซนต์
- ข้าวเปลือก
ข้อใดจัดเป็นสินค้าทุน
- รถไถของชาวนา
- รถจักรยานเสือภูเขา
- รถเก๋งส่วนบุคคล
- รถยนต์เปิดประทุน
ข้อใดต่อไปนี้ไม่จัดเป็นทุนของชาวนาตามความหมายของปัจจัยการผลิต
- น้ำในนาข้าวของชาวนา
- กระบือที่ใช้ในการไถนา
- ข้าวเปลือกที่รับพระราชทานมาจากวันแรกนาขวัญ
- ปุ๋ยที่เหลือจากการทำนาเมื่อปีที่แล้ว
ข้อใดคือสินค้าที่นายวันชัยบริโภคภายในเวลา หนึ่งวัน นายวันชัย บริโภคสินค้าคงทนและสินค้าไม่คงทน
- รถยนต์ โทรทัศน์ และยาสีฟัน
- อาหาร เครื่องสำอาง และ ยาแก้ปวด
- เสื้อผ้า เครื่องประดับ และโต๊ะอาหาร
- สบู่ น้ำหอม และดูภาพยนตร์
ข้อใดไม่ใช่วิธีการที่ผู้ผลิตใช้แก้ปัญหาพื้นฐานในทางเศรษฐกิจ
- สมรักเลือกบริเวณสวนจตุจักรในการประกอบอาชีพ
- สมศรีเลือกอาชีพขายกาแฟสด
- สมศักดิ์เลือกผลิตสินค้าสำหรับวัยรุ่นเท่านั้น
- สมใจเลือกใช้ปัจจัยการผลิตที่ทำให้ต้นทุนต่ำ
ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง
- เมื่อราคาสินค้าและบริการสูงขึ้นความต้องการซื้อจึงมากขึ้น
- เมื่อราคาสินค้าและบริการต่ำลงความต้องการซื้อจึงมากขึ้น
- เมื่อราคาสินค้าและบริการสูงขึ้นความต้องการขายจึงมากขึ้น
- เมื่อราคาสินค้าและบริการต่ำลงความต้องการขายจึงต่ำลง
ราคาสินค้าที่ทำให้เกิด “อุปทานส่วนเกิน” คือราคาในข้อใด
- ราคาที่สูงกว่าราคาดุลยภาพ
- ราคาที่ต่ำกว่าราคาดุลยภาพ
- ราคาที่เกินต้นทุน
- ราคาดุลยภาพ